วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทความ

การวิเคราะห์บทความวิชาการ เกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา การแก้ปัญหาและนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาของตนเอง
 ผู้บริหารสถานศึกษา กับการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
ทำไมจึงต้องศึกษาและวิเคราะห์ สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาวิเคราะห์บทความนี้
             บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงเรียน ก็คือ การทำอย่างไรให้ข้าราชการครูและบุคคลกรทาศึกษา บุคคลที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ทำงานให้บรรลุเป้าประสงค์ สำเร็จได้ นั้นคือ ผู้อำนวยการจะต้องรู้จักวิธีการสร้างแรงจูงใจให้กับราชการครู ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมจัดการศึกษา ในการพัฒนาจัดการศึกษาของโรงเรียน ข้าราชการครู ถือว่ามีความสำคัญมาก ครูต้องจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ให้กับลูกศิษย์ เติบโตและพัฒนาเป็นสมาชิกของชุมชน สังคมที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมอันพึ่งประสงค์และ สามารถดำเนินชีวิตอยู่สังคมได้อย่างมีความสุข อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บทความนี้ ทำให้ผู้อำนวยการสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับข้าราชการครูและบุคคลกรการศึกษา รวมไปถึงผู้ร่วมพัฒนาการศึกษา ทำงานเชิงคุณภาพได้ประสิทธิภาพ ภายในโรเรียน และนำมาใช้เมื่อต้องการแก้ปัญหา ปรับปรุงพัฒนาแรงจูงใจในโรงเรียน ใช้ในการเสริมสร้างทีมงานของผู้อำนวยการ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างโรงเรียนต่อไป
อะไรบ้างที่สอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีการบริหาร กลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจ
   แนวคิด ผมเชื่อว่า มูลเหตุจูงใจในการทำงานของทฤษฎีแรงจูงใจ จะทำให้ผู้บริหาร ได้เข้าใจความต้องการของผู้ร่วมงาน ความสามารถตนเองที่จะมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพความสำเร็จของงาน
ทฤษฎีมนุษย์นิยม  ทฤษฎีคลาสสิต แนวใหม่ มองว่า  คนเป็นมนุษย์เศรษฐศาสตร์ (Economic man) ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ มองว่า คนเป็นมนุษย์สังคม (Social man)
สรุปผลงานของ E. Mayo และคณะที่สำคัญคือ องค์การเป็นระบบทางสังคม การเป็นผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา เกิดจากค่านิยมของสมาชิกในกลุ่ม และค่านิยม ความเชื่อ รวมถึงอารมณ์ของสมาชิกด้วย ตรงกับหลักวิชาที่เรียน คือ กลุ่มทฤษฎีกำหนดเป้าหมาย (Goal-Setting Theory)
ผลงานของ C.I Barnard มองว่า เป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจของบุคคล เพื่อทำงานให้สำเร็จ ตรงกับ ทฤษฎีแรงจูงใจที่กล่าวถึงเนื้อหา (Content Theories of Motivation)
ทฤษฎีมนุษย์วิทยา(ทรัพยากรมนุษย์)จะมองว่า เป็น มนุษย์ที่ประสงค์จะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง ผลงานของ Marlow ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์เป็น 5 ลำดับขั้นคือ
                ขั้นที่ 1. ความต้องทางด้านร่างกาย (Physiological)
ขั้นที่ 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety)
ขั้นที่ 3. ความต้องการทางสังคม (Social)
ขั้นที่ 4. ความต้องการมีชื่อเสียง (Esteem)
    ขั้นที่ 5. ความต้องการความสำเร็จตามความนึกคิด (Self-actualization)
ซึ่งตรงกับทฤษฎีเกี่ยวกับแรงขับ/ความต้องการ (Drive/Need) ในบทที่ 4 แรงจงใจ
ผลงานทฤษฎี
     ลงานทฤษฎีแรงจูงใจของ อัลเดอร์เฟอร์ (Clayton Alderter) เป็นที่รู้จักในนามของ “E.R.G Theory” ก็อยู่ในกลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจที่กล่าวถึงเนื้อหา เช่นกัน
ส่วน กลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจเกี่ยวกับกระบวนการ ในบทความนี้ ได้แก่ ผลงานของ Victor   Vroom ในนามทฤษฎี ความคาดหวัง (Expectancy Theory) และAdams J. Stacy คิดว่า การจูงใจจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลในองค์การได้รับรู้ถึงระดับความเสมอภาค เป็นทฤษฎีความเสมอภาค
จากผลงานของบุคคลสำคัญ ตามทฤษฎีที่กล่าวข้างต้นนี้ อยู่ในหลัก และทฤษฎีการบริหารการศึกษา บทที่ 4 เรื่องแรงจูงใจ ทั้งสิ้น
การนำมาประยุกต์ใช้ การสร้างแรงจูงใจ เพื่อแก้ปัญหา และส่งเสริม พัฒนาการบริหารการศึกษาของโรงเรียน
ตามที่ รศ. สุขุม  นวลสกุล ได้แนะนำวิธีสร้างแรงจูงใจในที่ทำงานนั้น  โรงเรียนมีระบบการพิจารณาความดี/ความชอบ เป็นที่ยอมรับและเข้าใจชัดเจน เป็นขวัญกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ ความสุขที่เกิดจากการได้ทำในสิ่งที่ดีกว่า และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เป็นที่ชื่นชมในองค์การ นับเป็นการบริหารด้านค่าตอบแทน และสวัสดิการ คือ ความต้องการทางกาย และความมั่นคงในชีวิต
แนวความคิดในการปฏิบัติ จากบทความ สามารถลำดับขั้นตอนการนำไปประยุกต์ใช้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. มุมมองของผู้บริหาร มองเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้ทรงคุณค่าด้านคุณธรรม จริยธรรม มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผู้ได้รับแรงจูงใจที่ดี จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น
2. ผู้บริหารมีความเป็นปัญญาชน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ ด้วยความจริงใจกับทุกคน เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
3. การบริหารด้านความสัมพันธ์ในโรงเรียน ทำให้บุคลากรทุกคนมีคุณค่า เมื่ออยู่ในโรงเรียน และอยู่ร่วมกับผู้อื่น ที่ร่วมอาชีพเดียวกันได้ดี
4. การพัฒนาครู เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใช้ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom ความเจริญก้าวหน้าของ Hertzberg และการทำงานให้สำเร็จด้วนตนเองของ Argyris
5.ความภาคภูมิใจของโรงเรียน  สร้างความรักโรงเรียน ภูมิใจ จงรักภักดีต่อสถานบัน สร้างจุดเด่นให้โรงเรียน  ทฤษฎีของ Barnard กระตุ้นให้บุคลากร พัฒนา อาคารสถานที่ให้ดูสวยงาม เน้นการดูแล และเอาใจใส่นักเรียน ให้มีระเบียบวินัย
เมื่อการศึกษาวิเคราะห์บทความนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับข้าราชครูและบุคลากรการศึกษา ผู้เข้าร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารการศึกษา การทำให้เกิดความเข้าใจ ความสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาการบริหารโรงเรียน และที่สำคัญ ผู้บริหารจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บิหารมืออาชีพอย่างแท้จริง
ที่มา : โดย นายคงกฤช   เพ็งพิมพ์
นางกัลชนา   ธรรมมา  รวบรวม/เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น